มวยปล้ำ Archive

ยุครุ่งเรืองของสมาคมมวยปล้ำจากนายทุนชื่อดังในยุค 90

ในปี 1990 นั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันในวงการมวยปล้ำอันดุเดือดที่สุด หลังจากที่สมาคมอย่างดับเบิ้ลยูดับเบิ้ลยูเอฟได้ครองตลาดมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งการมาของค่ายน้องใหม่ที่เป็นลูกผสมระหว่างมวยปล้ำต้นตำรับกับตัวละครแนวแฟนตาซีหรือหลุดจากโลกความเป็นจริง ทำให้สมาคมจากจอร์เจียกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ที่น่าจับตามอง ทั้งการมาของนักมวยปล้ำชื่อดังจากค่ายต่าง ๆ รวมทั้งเนื้อเรื่องที่ฉีกกฎจากเดิมและไม่มีใครคาดคิด จึงทำให้ดับเบิ้ลยูซีดับเบิ้ลยูกลายเป็นค่ายเบอร์หนึ่งของวงการในช่วงระยะหนึ่งเลยทีเดียว การมาของนักมวยปล้ำชื่อดัง จากการมีหัวหน้าทีมสร้างสรรค์เป็นชายที่ชื่อเอริค บิสชอฟฟ์นั่นเอง ค่ายดับเบิ้ลยูซีดับเบิ้ลยูจึงเริ่มมีทิศทางในการนำเสนอผลงานบนจอโทรทัศน์มากขึ้น โดยเฉพาะการนำนักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียงเข้ามา โดยเริ่มต้นจากสติงและริค แฟลร์อดีตแชมป์โลกจากสมาคมเอ็นดับเบิ้ลยูเอ ก่อนที่จะมีตัวร้ายจากแดนญี่ปุ่นอย่างเวเดอร์เข้ามาเป็นคู่ต่อกรเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งการมาของฮัลค์ โฮแกนอดีตพระเอกตลอดการของสมาคมคู่แข่งอย่างเวิล์ดเรสลิ่งเฟดเดอร์เรชั่นที่ได้ลาออกจากสมาคมในปี 1994 เพื่อหันเหตัวเองไปเป็นนักแสดง แต่ด้วยสัญญาจ้างระดับล้านเหรียญต่อปีนั่นเอง ทำให้โฮแกนยอมย้ายมาในที่สุด หลังจากการมาของโฮแกนนี้เองทำให้ค่ายเวิล์ดแชมป์เปี้ยนชิพเรสลิ่งนี้ได้พลิกโฉมหน้าของวงการและกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของค่ายเฟดเดอร์เรชั่นเนื่องจากพวกเขามีเงินสนับสนุนมากกว่า จึงพร้อมจะเซ็นสัญญานักมวยปล้ำอย่างมากมาย หลังจากที่โฮแกนเข้ามาสู่สมาคมแล้ว หลังจากนั้นไม่นานทั้งมาโชแมน

ไพล์ไดรเวอร์ ท่ามวยปล้ำสุดอันตรายที่ยุติอาชีพคนในวงการ

แม้ว่าวงการมวยปล้ำจะถูกคำครหาเสมอว่าเป็นกีฬาที่ไม่สมจริง มีเนื้อเรื่องราวประกอบจนถูกใช้คำว่ากีฬาของปลอมเสมอ แต่ทว่านักมวยปล้ำคงคาดหวังว่ามันจะไม่เจ็บตัวเช่นกัน เพราะความจริงแล้วนักมวยแต่ละคนต่างต้องผ่านการฝึกฝนไม่ต่างจากนักกีฬาประเภทอื่น ๆ รวมทั้งอาการบาดเจ็บที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในฐานะกีฬาต่อสู้ประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับศิลปะป้องกันตัวหรือการชกมวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มวยปล้ำเป็นกีฬาที่ต้องมีการจับทุ่มหรือรับแรงกระแทกจึงทำให้นักมวยปล้ำต้องได้รับบาดเจ็บในที่สุด พูดถึงท่ามวยปล้ำที่ทำให้นักกีฬาได้รับบาดเจ็บเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นท่าไพรไดร์เวอร์ที่ส่งผลให้อาชีพของสโตนโคล สตีฟ ออสตินหรือแทซจากค่ายมวยปล้ำฮาร์ดคอร์ต้องจบลงก่อนวัยอันควร การรีไทร์จากอาการบาดเจ็บเรื้อรังของแทซ ในกลางยุค 90 นั้นที่ค่ายอีซีดับเบิ้ลยูกำลังเป็นที่นิยมสุดขีด ในช่วงนั้นเองที่มีนักมวยปล้ำจากนิวยอร์กได้เปิดตัวในปี 1993 ด้วยตัวละครชาวเผ่า ก่อนที่เขาจะได้รับอาการบาดเจ็บจากท่าสไปค์ไพรไดร์เวอร์จากแมตช์แทคทีมระหว่างเจ้าตัวกับดีน มาเลนโก้และทูคูล สกอร์เปียทำให้คอหักทันทีหลังจากที่เจ้าตัวเก็บคอไม่ทันจนหน้าผากต้องรับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวทั้งหมด และเป็นเหตุให้เขาต้องพักการปล้ำยาวก่อนจะกลับมาก่อนสิ้นปี 1995 แม้ว่าแทซจะได้รับบาดเจ็บจนเกือบเลิกปล้ำก็ตาม แต่เมื่อเขากลับมาพร้อมกับบุคลิกใหม่ทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบของแฟน ๆ จนกระทั่งกลายเป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวทของอีซีดับเบิ้ลยูหนึ่งสมัย และแชมป์โทรทัศน์ของสมาคมอีกหนึ่งสมัย

ตำนานนักสู้ห้าดาวของวงการมวยปล้ำญี่ปุ่น

ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งและร่างกายที่อดทนต่อการต่อสู้ทำให้ชื่อของมวยปล้ำญี่ปุ่นได้เป็นที่นิยมในประเทศอยู่ช่วงหนึ่งเมื่อ 30 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะมวยปล้ำหญิงที่มีดัมพ์ มัสซึโมโตะเป็นตัวชูโรงที่คนไทยรู้จักกันดี แต่ทว่าในสมาคมมวยปล้ำชายอย่างออลเจแปนโปรเรสลิ่งนั้น ถือเป็นยุคที่ให้กำเนิดสี่เสาหลักแห่งสวรรค์ที่ลือลั่นโดยมีโทชิอากิ คาวาดะ เคนตะ โคบาชิ อากิระ ทาอุอะและมิสึฮารุ มิซาว่านั่นเอง ซึ่งชื่อของมิซาว่านั้นถือเป็นหนึ่งในสุดยอดนักมวยปล้ำยอดเยี่ยมตลอดกาล เพราะผลงานการคว้าแชมป์และการให้เรตติ้งในแมตช์หรือเรียกกันว่าแมตช์ 5 ดาวมากที่สุดเหนือใครในประวัติศาสตร์นั่นเอง  อดีตแชมป์โลกทั้งสองสถาบัน หลังจากที่มิสึฮารุ มิซาว่าเริ่มสร้างชื่อเสียงในตัวละครที่ชื่อว่าไทเกอร์แมสหรือหน้ากากเสือที่คนไทยรู้จัก ก่อนที่กลับมาใช้ชื่อของตัวเองพร้อมคว้าแชมป์ทริปเปิ้ลคราวน์ได้เป็นสมัยแรกในปี 1992 ด้วยการเอาชนะคาวบอยจอมโหดอย่างสแตน แฮนเซ่นเจ้าของตำแหน่งเดิม ก่อนที่เจ้าตัวจะครองแชมป์นานกว่า 700  วันและไปเสียแชมป์ให้กับนักมวยปล้ำต่างชาติอีกคนอย่างสตีฟ วิลเลี่ยม

ท่าไม้ตายสุดเท่ตระกูลคัตเตอร์จากรุ่นสู่รุ่น

ในวงการมวยปล้ำที่นักสู้แต่ละคนต้องออกมาเล่นงานด้วยท่าจับทุ่ม ล็อคและเหินเวหาต่าง ๆ ภายในเวทีสี่เหลี่ยมนั้นทำให้นักมวยปล้ำมากมายต่างมีท่าไม้ตายของตัวเองเพื่อปิดบัญชีในแมตช์นั้นให้จบลงด้วยความรวดเร็วที่สุด แฟน ๆ หลายคนคงรู้จักท่าดัง ๆ อย่างร็อคบอททอมและศอกมหาชนของเดอะร็อค หรือจะเป็นทูนสโตน ไพไดร์เวอร์ของดิอันเดอเทคเกอร์และเคน สองพี่น้องแห่งการทำลายล้าง แต่มีท่ามวยปล้ำอยู่ท่าหนึ่งที่ถูกใช้มาตั้งแต่ยุค 80 จนกระทั่งปัจจุบันและยังคงเป็นท่าที่สวยงามโดนใจแฟนอยู่ตลอดมาที่ชื่อว่าคัตเตอร์หรือครัชเชอร์นั่นเอง เอซ ครัชเชอร์ผู้สร้างชื่อให้กับท่าหักคอ ช่วงปี 1986 เป็นช่วงที่จอห์น ลอร์ไรนาติสหรือจอห์นนี่ เอซได้ขึ้นปล้ำในสมาคมเนชั่นนัล เรสลิ่ง แอลไลแอนซ์ก่อนที่จะไปสร้างชื่อเสียงอย่างมากที่ประเทศญี่ปุ่นและได้ร่วมงานกับตำนานจากแดนอาทิตย์อุทัยอย่างเคนตะ โคบาชิและสตีฟ วิลเลี่ยม โดยสิ่งที่สร้างชื่อให้กับเขาก็คือท่าไม้ตายอย่างเอซ ครัชเชอร์นั่นเอง