ไพล์ไดรเวอร์ ท่ามวยปล้ำสุดอันตรายที่ยุติอาชีพคนในวงการ

แม้ว่าวงการมวยปล้ำจะถูกคำครหาเสมอว่าเป็นกีฬาที่ไม่สมจริง มีเนื้อเรื่องราวประกอบจนถูกใช้คำว่ากีฬาของปลอมเสมอ แต่ทว่านักมวยปล้ำคงคาดหวังว่ามันจะไม่เจ็บตัวเช่นกัน เพราะความจริงแล้วนักมวยแต่ละคนต่างต้องผ่านการฝึกฝนไม่ต่างจากนักกีฬาประเภทอื่น ๆ รวมทั้งอาการบาดเจ็บที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในฐานะกีฬาต่อสู้ประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับศิลปะป้องกันตัวหรือการชกมวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มวยปล้ำเป็นกีฬาที่ต้องมีการจับทุ่มหรือรับแรงกระแทกจึงทำให้นักมวยปล้ำต้องได้รับบาดเจ็บในที่สุด พูดถึงท่ามวยปล้ำที่ทำให้นักกีฬาได้รับบาดเจ็บเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นท่าไพรไดร์เวอร์ที่ส่งผลให้อาชีพของสโตนโคล สตีฟ ออสตินหรือแทซจากค่ายมวยปล้ำฮาร์ดคอร์ต้องจบลงก่อนวัยอันควร

การรีไทร์จากอาการบาดเจ็บเรื้อรังของแทซ

ในกลางยุค 90 นั้นที่ค่ายอีซีดับเบิ้ลยูกำลังเป็นที่นิยมสุดขีด ในช่วงนั้นเองที่มีนักมวยปล้ำจากนิวยอร์กได้เปิดตัวในปี 1993 ด้วยตัวละครชาวเผ่า ก่อนที่เขาจะได้รับอาการบาดเจ็บจากท่าสไปค์ไพรไดร์เวอร์จากแมตช์แทคทีมระหว่างเจ้าตัวกับดีน มาเลนโก้และทูคูล สกอร์เปียทำให้คอหักทันทีหลังจากที่เจ้าตัวเก็บคอไม่ทันจนหน้าผากต้องรับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวทั้งหมด และเป็นเหตุให้เขาต้องพักการปล้ำยาวก่อนจะกลับมาก่อนสิ้นปี 1995

แม้ว่าแทซจะได้รับบาดเจ็บจนเกือบเลิกปล้ำก็ตาม แต่เมื่อเขากลับมาพร้อมกับบุคลิกใหม่ทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบของแฟน ๆ จนกระทั่งกลายเป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวทของอีซีดับเบิ้ลยูหนึ่งสมัย และแชมป์โทรทัศน์ของสมาคมอีกหนึ่งสมัย พร้อมสถาปนาเข็มขัดเส้นใหม่ให้กับค่ายมวยปล้ำนี้ในชื่อว่า เอฟทีดับเบิ้ลยูที่อยู่ในระดับเดียวกับแชมป์โลกเลยทีเดียว แต่อาชีพของแทซในฐานะนักมวยปล้ำก็ต้องจบลงหลังจากช่วงที่เขาเป็นแชมป์โลกได้เพียง 2 ปีเท่านั้น

จุดจบบนสังเวียนของเจ้างูหางกระดิ่ง

ในช่วงที่สโตนโคล สตีฟออสตินกำลังก้าวไปถึงความนิยมสุดขีดของเขานั้น เริ่มต้นจากการเป็นผู้ชนะคิงออฟเดอะริงในปี 1996 ก่อนที่จะเขาจะมีเรื่องราวกับกลุ่มฮาร์ท ฟาวด์เดชั่นจนทำให้เขาได้ขึ้นปล้ำชิงแชมป์อินเตอร์คอนทิเนนทัลกับโอเวน ฮาร์ทเจ้าของตำแหน่งในรายการซัมเมอร์แสลมในปี 1997 แต่จากอุบัติเหตุตอนที่โอเวนใช้ท่าซิทเอาท์ไพไดร์เวอร์ทำให้สโตนโคลถึงกับเป็นอัมพาตไปชั่วคราวกลางเวทีทันที ก่อนที่เขาจะฟื้นตัวขึ้นมาแล้วรีบตัดแมตช์จบทันที

หลังจากที่ออสตินได้รับอาการบาดเจ็บครั้งนี้ได้ทำให้เขาต้องเปลี่ยนรูปแบบการปล้ำของตัวเองทันที จากสายทักษะบนเวทีกลายเป็นสายบู๊ที่ไม่ต้องใช้ร่างกายมากนัก แต่ด้วยเหตุนี้เองทำให้เขากลายเป็นที่นิยมจากแฟน ๆ อย่างมากและกลายเป็นขวัญตลอดกาลของวงการมวยปล้ำเลยทีเดียว แม้ว่าอาชีพนักมวยปล้ำของเขาจะต้องจบลงจากปัญหาสุขภาพในปี 2003 ก็ตาม

จะเห็นได้ว่าท่าไพไดร์เวอร์หรือการแข่งขันกีฬามวยปล้ำนั้นมีความอันตรายไม่ต่างกับกีฬาอื่น ๆ ที่มีโอกาสได้รับอาการบาดเจ็บโดยไม่คาดคิดเสมอ ซึ่งทางค่ายเวิลด์เรสลิ่งเอนเตอร์เทนเมนต์ก็ได้เล็งเห็นเรื่องนี้เช่นกันจึงทำให้ท่าไพไดร์เวอร์ถูกสั่งห้ามไปนานเกือบสิบปีเลยทีเดียว